Waterbase vs Thinner
น้ำยากันสนิมสูตรน้ำ กับ สูตรสีทินเนอร์แตกต่างกันอย่างไร
เทคโนโลยีการการพ่นสีสูตรน้ำมีมานานหลายสิบปีแล้ว แต่จะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ เนื่องจากสีสูตรน้ำมีการระเหยของ
สารอินทรีย์ที่เป็นพิษต่ำกว่าแบบสีสูตรน้ำมันหรือทินเนอร์ และระบบพ่นสีที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในโลก
อีกทั้งผู้ผลิตทุกรายยังจำเป็นจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ข้อดีของสีสูตรน้ำ
ให้คุณภาพงานที่ดี สีสันสวยงามคงทน ไม่ลุดล่อนง่าย กลิ่นไม่เหม็น ไม่รบกวนพื้นที่ข้างเคียง
ไม่มีสารระเหยที่อันตราย ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและผู้บริโภค
ไม่มีสารระเหยที่เป็นเชื้อไฟ ติดไฟ หรือลามไฟ อีกทั้งยังทนต่อความร้อนสูงได้ดีกว่า
ทำงานง่าย ไม่ต้องมีสารเคมีหรือตัวทำละลายมาผสม ซึ่งถ้าเป็นสีทินเนอร์อัตรส่วนผสมไม่ถูกต้องงานพ่นก็จะออกมามีปัญหา
เช่นทำให้ สีไหลเยิ้ม สีย่น สีเป็นฝ้าหรือแตกลายงาเป็นต้น
ข้อเสียของสีสูตรน้ำ
ราคาต้นทุนอาจแพงกว่านิดหน่อย
สีมีความข้นหนืดมากว่าสีทินเนอร์
แห้งช้ากว่าปกติสำหรับในช่วงหน้าฝน
ข้อดีของสีทินเนอร์
ราคาต้นทุนถูกกว่าสูตรน้ำ
ให้ความเงาที่มากกว่า
แห้งเร็วเพราะใช้สารระเหยเป็นตัวทำละลาย
ข้อเสียของสีทินเนอร์
เนื่องจากทินเนอร์ เป็นสารเคมีอันตรายที่ควรระวัง
ทินเนอร์เป็นสารระเหยควบคุมตามกฎหมาย ภายในทินเนอร์มีสารเคมีอันตรายที่ชื่อโทลูอีนเป็นส่วนประกอบ
ซึ่งสารนี้สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังและระเหยปนเปื้อนในอากาศได้
โดยทินเนอร์นั้นถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจพ่นกันสนิมรถยนต์ที่กำลังมาแรงในช่วง 2-3ปีมานี้
การสูดดม จะส่งผลเสียต่อระบบประสาทและร่างกาย โดยทำให้มีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น
เช่น เจ็บคอ แสบจมูก ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ วิงเวียน หมดสติ หรือเกิดภาวะเคลิ้มสุขที่นำไปสู่การเสพติดตามมา เป็นต้น
ผลกระทบเรื้อรัง
เกิดจากการสัมผัสและสูดดมทินเนอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้สารพิษสะสมภายในร่างกาย
และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายลดลงจนอาจเกิดโรคหรือความผิดปกติ ดังนี้
อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะเรื้อรัง
ระบบทางเดินหายใจส่วนบนและตาอักเสบ
เดินเซ สูญเสียความสามารถในการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
พูดติดขัด พูดไม่รู้เรื่อง
การมองเห็นและการได้ยินบกพร่อง
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย กระวนกระวาย สับสน ไม่สามารถควบคุมตนเองได้
สมองฝ่อ ความจำเสื่อม
ส่วนการทดลองด้านผลกระทบจากทินเนอร์ในระยะยาวที่ค้นคว้าในหนูทดลองพบว่า
การสูดดมทินเนอร์ในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานอาจเสี่ยงทำให้เยื่อหุ้มโพรงจมูก ปอด
และระบบทางเดินหายใจเสื่อมและเกิดการอักเสบด้วย
การสูดดม “โทลูอีน”ไม่ว่าจะเป็น ทินเนอร์หรือ กาว จะเกิดผล
ต่อร่างกายอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือ “การได้รับสารพิษมักเกิด
จากความไม่ตั้งใจ” เนื่องจาก คุณลักษณะเฉพาะของ”สารระเหย”
แค่เพียงกลิ่น หรือ ไอที่ระเหยในอากาศก็สามารถแทรกซึมผ่าน
ลมหายใจและผิวหนังเข้าไปสะสมและเกิดพิษในร่างกายได้
แล้ว!!! โดยเฉพาะ มีผลต่อการกดระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่
ได้รับสารจะรู้สึกมีอารมณ์เคลิบเคลิ้ม เซื่องซึมง่วงเหงาหาวนอน
คล้ายดื่มสุรา หากได้รับสารพิษเป็ นปริมาณมากเฉียบพลัน จะทำให้
มีอาการสับสน เพ้อคลั่ง และมีอาการทางจิตประสาทหลอนได
หากได้รับปริมาณมากๆ จะทำลายถุงลมปอด และกล้ามเนื้อหัวใจ
ล้มเหลว หมดสติและเสียชีวิตได้ในเวลาเฉียบพลัน ส่วนพิษเรื้อรังนั้น การได้รับโทลูอีนติดต่อกัน
เป็นเวลานานทำให้โรคสมองเสื่อม และโรคทางจิตเวชร่วมกับระบบประสาท เช่นอารมณ์
เปลี่ยนแปลงง่าย ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้พฤติกรรมก้าวร้าว และโรคจิตจากการติดสารเสพ
ติด ในเด็กผลกระทบในระยะยาวที่น่าเป็นห่วงคือ ทำให้มี “สติปัญญาทึบ” มีการเรียนรู้ที่
ช้ากว่าปกติได้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบประสาทการได้ยิน และการมองเห็น โรคปอด
และทางเดินหายใจเรื้อรัง ตับอักเสบ ไตวายชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง พิษสะสมทำลายการสร้าง
เม็ดเลือดขาวจากไขกระดูกทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้อีกด้วย
สำหรับในประเทศไทย ทินเนอร์ จัดเป็น สารระเหยที่ประกาศควบคุม รวม 19 ชนิด ตาม
พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 มาตรา 31 มีกฎหมายสำหรับผู้ประกอบอาชีพ
ในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีได้ระบุเอาไว้ว่า หากได้รับสารระเหยในปริมาณ 200 ppm
(โปรดอ่านที่ฉลากข้างผลิตภัณฑ์) ซึ่งเป็นปริมาณเทียบเท่ากับ กาว และแลคเกอร์ที่ใช้กัน
ทั่วไป จะต้องมีระยะเวลาท างานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และโทลูอีนในปริมาณเกินกว่า
500 ppm จะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต.
เขียนโดย
Thanakrit Sanongkhun